วันศุกร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ประเภทของวงดนตรีไทย

ประเภทของวงดนตรีไทย
ประวัติ
          ในสมัยกรุงสุโขทัย ดนตรีไทยมีลักษณะเป็นการขับลำนำ และร้องเล่น วรรณคดี "ไตรภูมิพระร่วง" กล่าวถึงเครื่องดนตรี ได้แก่ ฆ้อง กลอง ฉิ่ง แฉ่ง (ฉาบ) บัณเฑาะว์ พิณ ซอ ปี่ไฉน ระฆัง กรับ และกังสดาล
        สมัยกรุงศรีอยุธยา มีวงปี่พาทย์ที่ยังคงรูปแบบปี่พาทย์เครื่องห้าเหมือนเช่นสมัยกรุงสุโขทัย แต่เพิ่มระนาดเอกเข้าไป นับแต่นั้นวงปี่พาทย์จึงประกอบด้วย ระนาดเอก ปี่ใน ฆ้องวงใหญ่ กลองทัด ตะโพน ฉิ่ง ส่วนวงมโหรีพัฒนาจากวงมโหรีเครื่องสี่ เป็นมโหรีเครื่องหก เพิ่มขลุ่ย และรำมะนา รวมเป็นมี ซอสามสาย กระจับปี่ ทับ (โทน) รำมะนา ขลุ่ย และกรับพวง
        ถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เริ่มจากรัชกาลที่ 1 เพิ่มกลองทัดเข้าวงปี่พาทย์อีก 1 ลูก รวมเป็น 2 ลูก ตัวผู้เสียงสูง ตัวเมียเสียงต่ำ รัชกาลที่ 2 ทรงพระปรีชาสามารถการดนตรี ทรงซอสามสาย คู่พระหัตถ์คือซอสายฟ้าฟาด และทรงพระราชนิพนธ์เพลงไทย บุหลันลอยเลื่อน รัชสมัยนี้เกิดกลองสองหน้าพัฒนามาจากเปิงมางของมอญ พอในรัชกาลที่ 3 พัฒนาเป็นวงปี่พาทย์เครื่องคู่ มีการประดิษฐ์ระนาดทุ้มคู่กับระนาดเอก และฆ้องวงเล็กให้คู่กับฆ้องวงใหญ่
         รัชกาลที่ 4 เกิดวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่พร้อมการประดิษฐ์ระนาดเอกเหล็ก และระนาดทุ้มเหล็ก รัชกาลที่ 5 สมเด็จฯ กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ทรงคิดค้นวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ประกอบการแสดงละครดึกดำบรรพ์ ในรัชกาลที่ 6 นำวงดนตรีของมอญเข้าผสมเรียกวงปี่พาทย์มอญโดยหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) มีการนำอังกะลุงเข้ามาเผยแพร่เป็นครั้งแรก และนำเครื่องดนตรีต่างชาติ เช่น ขิม ออร์แกนของฝรั่งมาผสมเป็นวงเครื่องสายผสม
ลักษณะ
          ลักษณะการประสานเสียงของดนตรีไทยตามแบบโบราณนั้น ใช้หลัก อาศัยสีเสียง (Tone color) ของครื่องดนตรีเป็นเครื่องแยกแต่ละแนวทำนอง คือให้เครื่องดนตรีแต่ละชิ้นประสานเสียงกันแบบแนวนอน คือให้เสียงลูกตกตรงกัน มากกว่าประสานแบบแนวตั้งที่อาศัยคอร์ด (chord) เป็นพื้นฐานหลักตามแบบสากล
ลีลาดนตรีไทย
          ลีลาเครื่องดนตรีไทย หมายถึงท่วงท่าหรือท่วงทำนองที่เครื่องดนตรีต่างๆได้บรรเลงออกมา สำหรับลีลาของเครื่องดนตรีไทยแต่ละเครื่องที่เล่นเป็นเพลงออกมา บ่งบอกถึงคุณลักษณะและพื้นฐานอารมณ์ที่จากตัวผู้เล่น เนื่องมาจากลีลาหนทางของดนตรีไทยนั้นไม่ได้กำหนดกฏเกณฑ์ไว้ตายตัวเหมือนกับดนตรีตะวันตก หากแต่มาจากลีลาซึ่งผู้บรรเลงคิดแต่งออกมาในขณะเล่น เพราะฉะนั้นในการบรรเลงแต่ละครั้งจึงอาจมีทำนองไม่ซ้ำกัน แต่ยังมี ความไพเราะและความสอดคล้องกับเครื่องดนตรีอื่นๆอยู่
         ลักษณะเช่นนี้ได้อิทธิพลมาตั้งแต่สมัยโบราณ ที่มี"กฎเกณฑ์" อยู่ที่การวาง "กลอน" ลงไปใน "ทำนองหลัก" ในที่นี้ หมายถึงในเพลงไทยเดิมนั้นเริ่มต้นด้วย "เนื้อเพลงแท้ๆ" อันหมายถึง "เสียงลูกตก" ก่อนที่จะปรับปรุงขึ้นเป็น "ทำนองหลัก" หรือที่เรียกว่า "เนื้อฆ้อง" อีกชั้นหนึ่ง ซึ่งในชั้นเนื้อฆ้องนี้ส่วนใหญ่จะยังคงเป็นทำนองห่างๆ ยังไม่มีความซับซ้อนมาก แต่ยังกำหนดลักษณะในการเล่นไว้ให้ผู้บรรเลงแต่ละคนได้บรรเลงด้วยลีลาเฉพาะของตนในกรอบนั้นๆ โดยลีลาที่กล่าวมาก็หมายถึง "กลอน" หรือ "หนทาง" ต่างๆที่บรรเลงไปนั่นเอง
วงดนตรีไทย
         ดนตรีไทยมักเล่นเป็นวงดนตรี มีการแบ่งตามประเภทของการบรรเลงที่เป็นระเบียบมาแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบันเป็น 3 ประเภท คือ วงเครื่องสาย วงปี่พาทย์เเละวงมโหรี
วงเครื่องสาย
          วงเครื่องสาย ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย อันได้แก่เครื่องสี (ซอด้วงและซออู้) และเครื่องดีด (จะเข้) เป็นหลัก มีเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า (ขลุ่ย) เป็นส่วนประกอบ ใช้โทนรำมะนาบรรเลงจังหวะหน้าทับ และใช้ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง ร่วมบรรเลงประกอบจังหวะ วงเครื่องสายเป็นวงดนตรีประเภทที่ใช้บรรเลงขับกล่อมเพื่อความบันเทิงเริงรมย์ เหมาะสำหรับการบรรเลงในอาคาร นิยมใช้บรรเลงในงานมงคล เช่น พิธีมงคลสมรสและงานเลี้ยงสังสรรค์ เป็นต้น และมิได้ใช้บรรเลงสำหรับประกอบการแสดงนาฏศิลป์
          เครื่องดนตรีในวงเครื่องสายนั้นมีวิวัฒนาการมาตั้งแต่สมัยใดไม่ทราบแน่ แต่ในสมัยอยุธยาตอนต้น ได้มีการกล่าวถึงเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายแล้วหลายชิ้น เช่น ระบุถึงไว้ในกฎมนเทียรบาลว่า “ร้อง (เพลง) เรือ เป่าขลุ่ย เป่าปี่ ตีทับขับรำโห่ร้องนี่นัน และกล่าวถึงว่าร้องเพลงเรือ เป่าปี่ เป่าขลุ่ย สีซอ ดีดจะเข้ กระจับปี่ ตีโทนทับอย่างไรก็ดี ในสมัยนั้น การบรรเลงเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายเหล่านี้คงเป็นลักษณะต่างคนต่างเล่น คงมิได้หมายถึงการผสมวงที่ปรับปรุงตามแบบฉบับ จึงยังไม่พบเป็นหลักฐานว่า วงเครื่องสายสมัยอยุธยาผสมวงกันอย่างไร
         สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงประทานอธิบายถึงกำเนิดวงเครื่องสายไว้ว่า “...ผู้ชายบางพวกที่หัดเล่นเครื่องสายอย่างจีน จึงคิดกันเอาซอด้วง ซออู้ จะเข้ กับปี่อ้อ เข้าเล่นผสมกับเครื่องกลองแขก เครื่องผสมแบบนี้เรียกกันว่า กลองแขกเครื่องใหญ่... ซึ่งภายหลังเรียกการประสมวงแบบนี้ว่า เครื่องสายปี่ชวา แล้วทรงประมาณถึงช่วงเวลาของการกำเนิดวงเครื่องสายว่า “...เห็นจะเกิดขึ้นในตอนปลายรัชกาลที่ ๔ ด้วยเมื่อตอนต้นรัชกาลที่ ๕ ยังถือกันว่าเป็นของเกิดขึ้นใหม่…”
          ทรงประทานอธิบายต่อไปว่า “...ครั้นต่อมาเอากลองแขกกับปี่อ้อออกเสีย ใช้ทับกับรำมะนา และขลุ่ยแทน เรียกว่า มโหรีเครื่องสาย บางวงก็เติมระนาด และฆ้องเข้าด้วย จึงเกิดมีมโหรีเครื่องสายผู้ชายเล่น แทนมโหรีผู้หญิงอย่างเดิมสืบมาจนทุกวันนี้ ที่ผู้หญิงหัดเล่นก็มี แต่น้อยกว่าผู้ชายเล่น แต่การเล่นมโหรีเครื่องสายในชั้นหลังมา ดูไม่มีกำหนดจำนวนเครื่องเล่น เช่น ซอด้วง และซออู้ เป็นต้น แล้วแต่จะมีคนสมัครจะเข้าเล่นเท่าใด ก็เข้าเล่นได้…”
          ภายหลัง เราไม่เรียกวงแบบนี้ว่า มโหรีเครื่องสาย แต่เรียกกันว่า วงเครื่องสาย และตั้งแต่ในรัชกาลที่ ๖ มา เมื่อมีผู้นำขิมบ้าง ไวโอลินบ้าง ออร์แกน และเครื่องอื่นๆ บ้าง เข้าเล่นผสมวง จึงเรียกกันว่าเครื่องสายผสมขิม เครื่องสายผสมไวโอลิน เครื่องสายผสมออร์แกน และเมื่อผสมเครื่องดนตรีหลายอย่าง เรียกกันอย่างกว้างๆว่า วงเครื่องสายผสม
         เสียงของวงเครื่องสายนั้นมีความไพเราะเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยเมื่อพิจารณาจากธรรมชาติของเครื่องดนตรีที่สังกัดในวงดนตรีชนิดนี้ที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีที่เป็นเครื่องสายตระกูลดีดและสี กับมีเครื่องเป่าตระกูลของขลุ่ยเข้าร่วมสมทบ ซึ่งส่วนมากมีศักยภาพในการผลิตเสียงที่ยาวได้อย่างต่อต่อเนื่องเกือบทั้งสิ้น จึงทำให้วงเครื่องสายมีลีลาของการบรรเลงบทเพลงประเภท เพลงกรอได้อย่างดีเยี่ยม อย่างไรก็ตาม วงเครื่องสายก็สามารถบรรเลงเพลงประเภทอื่น เช่น เพลงทางพื้น เพลงลูกล้อลูกข้อได้เช่นกัน
         ส่วนลีลาด้านการดำเนินทำนองนั้น แนวการดำเนินทำนองของ ซอ จัดได้ว่าเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่น การเคลื่อนที่ของทำนองจากต่ำไปสู่สูงและลงมาต่ำนั้น มีลีลาการสร้างทำนองที่ต่างไปจากเครื่องดนตรีอื่นๆ เช่น ระนาดเอก ฆ้องวง ทั้งนี้เนื่องจากซอเป็นเครื่องดนตรีที่มีความกว้างของช่วงเสียงหรือพิสัย (Range) ที่แคบ การเคลื่อนที่ของทำนองจึงหมุนเวียนอยู่ในกรอบของระดับเสียงที่จำกัด อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนที่ของทำนองในวงเครื่องสายลักษณะนี้ กลับกลายเป็นเสน่ห์เฉพาะตัวของวงเครื่องสายได้อย่างดียิ่ง
          เสียงของวงเครื่องสายนั้น จะใช้ ทางเพียงออบน หรือ ทางนอกต่ำ โดยใช้ “ขลุ่ยเพียงออหรือ ปี่นอกต่ำเป็นหลักของเสียง เสียงเอกของทางเพียงออบนหรือทางนอกต่ำนี้อยู่สูงกว่าทางกลางขึ้นมาอีกหนึ่งเสียง (ทางกลางคือทางที่ใช้บรรเลงประกอบกับการแสดงโขนและหนังใหญ่ ซึ่งเล่นกลางแจ้ง มีเสียงสูงและใช้ปี่กลางเป็นหลักของเสียง)
          แบบแผนของวงเครื่องสายในปัจจุบันนี้นั่น สามารถแบ่งออกได้เป็น ๓ ประเภท คือ วงเครื่องสายไทย วงเครื่องสายผสม และวงเครื่องสายปี่ชวา
วงเครื่องสายไทย
          วงเครื่องสายไทย เป็นวงดนตรีที่เหมาะสำหรับการบรรเลงในอาคาร ในลักษณะของการขับกล่อมที่เป็นพิธีมงคล เช่น พิธีมงคลสมรสและงานเลี้ยงสังสรรค์ เป็นต้น วงเครื่องสายไทยนี้มักจะเรียกกันสั้นๆ ว่า วงเครื่องสายมีอยู่ ๒ ขนาด คือ วงเครื่องสายวงเล็กและวงเครื่องสายเครื่อง

วงปี่พาทย์
          วงปี่พาทย์ เป็นวงที่ประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีประเภทตี เป่า และเครื่องประกอบจังหวะ ใช้บรรเลงในงานพระราชพิธี และพิธีต่างๆ แบ่งได้ 3 ขนาด คือ
  • วงปี่พาทย์เครื่องสิบ ระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ ปี่ใน ฉิ่ง ตะโพน กลองทัด วงปี่พาทย์เครืองห้า แบ่งออกเป็น 2 ชนิดได้แก่
1.  ปีพาทย์เครื่องห้าอย่างหนัก จะใช้สำหรับการบรรเลงใน การแสดงมหรสพ หรืองานในพิธีต่างๆ ซึ่งจะประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีต่างๆ ดังนี้คือ ฆ้องวงใหญ่ ปี่ใน กลองทัด ตะโพน และฉิ่ง
2.  ปีพาทย์เครื่องห้าอย่างเบา ประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีต่างๆ ดังนี้คือ กลองชาตรี ฆ้องคู่ ฉิ่ง ปี่ และทับหรือโทน
     นอกจากนี้วงปี่พาทย์ยังมีอีก 3 ประเภทใหญ่ๆคือ

วงมโหรี
          วงมโหรีเกิดจากการประสมกันระหว่างวงปี่พาทย์และวงเครื่องสาย เกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยอยุธยา มีวิวัฒนาการมาจากวงขับไม้
           วงมโหรีแบ่งได้ดังนี้
           วงมโหรีเครื่องสี่



เกิดจากการการประสมกันระหว่างการบรรเลงพิณและการขับไม้ ปรากฏครั้งแรกในสมัยอยุธยา มีเครื่องดนตรี 4 ชนิดดังนี้
  
วงมโหรีเครื่องหก
ลักษณะคล้ายวงมโหรีเครื่องสี่ แต่ได้เพิ่มเครื่องดนตรีอีกสองอย่างคือ รำมะนาและขลุ่ยเพียงออ

วงมโหรีเครื่องเดี่ยว

เกิดขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ในระยะแรกเพิ่มระนาดเอกและฆ้องวงใหญ่ ในระยะหลังได้เพิ่มซอด้วงและซออู้ เปลี่ยนกระจับปี่เป็นจะเข้

   วงมโหรีเครื่องคู่

เหมือนกับวงมโหรีเครื่องเล็ก แต่ได้เพิ่มระนาดทุ้ม ฆ้องวงเล็ก ขลุ่ยหลิบ ซอด้วง ซออู้ จะเข้ และซอสามสายหลิบอย่างละหนึ่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น